Link ที่เกี่ยวข้อง

ธนาคาร

ตั๋วเครื่องบินราคาถูก

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday195
mod_vvisit_counterYesterday10443
mod_vvisit_counterThis week12153
mod_vvisit_counterLast week2315
mod_vvisit_counterThis month35778
mod_vvisit_counterLast month11658
mod_vvisit_counterAll days2677715

Go Down

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 1        5 ร:  เมื่อถูกสรรพากร ตรวจสอบประเมินภาษี (23,30/9/2551)
ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 2        กลยุทธ์ 10 ประการ เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี (19/8/2551)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 3        สิทธิประโยชน์ทางภาษี (14/9/2554)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 4        วิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีปลอม (26/9/2554)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 5        หลักเกณฑ์การคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก (6/10/2554)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 6        มาตรการภาษีช่วยผู้ประสบอุทกภัย 1.5 เท่า (13/10/2554)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 7        ประเด็นการจัดการภาษีอากรกรณีภัยพิบัติ   (7/1/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 8        นโยบายลดหย่อนบ้านหลังแรก   (21/1/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 9        การชำระค่าภาษีอากร ณ กรมศุลกากร  (28/1/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 10      ลดภาษีเงินได้นิตบุคคล  ปี  2555  (30/1/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 11      เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  13  หลัก  (30/1/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 12      สิทธิประโยชน์กิจการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  (7/3/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 13      ค่าส่งเสริมกาขายกับภาระภาษี    (28/3/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 14     มาตรการภาษีอากรที่ช่วยผู้เกษียณอายุ   (28/3/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 15     ผลทางภาษีในกรณีสินค้า/ทรัพย์สินเสียหายจากอุทกภัย  (10/10/2555)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 16     ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 มกราคม 2555  (24/3/2556)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 17     ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2556   (4/7/2556)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 18     ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล  1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป   (4/7/2556)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 19     สรรพากรเร่งศึกษาโมเดลเกาหลี           (31/7/2556)

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 20     เพิ่มข้อความในใบกำกับภาษี  เริ่มต้นใช้ปี 2557   (31/7/2556)

 

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 1

 

5 ร: เมื่อถูกสรรพากร ตรวจสอบประเมินภาษี

ท่านควรรู้ว่าจะทำอย่างไรเมื่อท่านถูกกล่าวหาว่าเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือถูกประเมินภาษี

ผู้เขียนได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการเกี่ยวกับเมื่อถูกประเมินภาษีว่า ผู้เสียภาษีควรจะทำเช่นไร ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการ การชี้แจง รวมทั้งการอุทธรณ์และการประเมินภาษีต่างๆ ของกรมสรรพากร

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าในการเตรียมตัวเมื่อถูกประเมินภาษีนั้น ผู้เสียภาษีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมี 5 ร ที่ต้องรู้อยู่ 5 ด้วยกันเพื่อที่พร้อมรับหรือชี้แจงหรือต่อสู้เมื่อมีการประเมินภาษีอากรนั้น ได้อย่างดี

ที่ 1 คือ รู้กฎหมาย คำวินิจฉัยของกรมสรรพากรและคำพิพากษาในประเด็นภาษีดังกล่าว ผู้ที่ถูกประเมินภาษีจะต้องมีความรู้ ประเด็นกฎหมายว่าตามกฎหมายท่านมีข้อต่อสู้ทางกฎหมายหรือไม่ และเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายในการประเมิน

การรู้ ประเด็นข้อกฎหมายตลอดจนคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรและคำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัย ที่เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกประเมินนั้น จะทำให้ท่านสามารถต่อสู้หรือเจรจากับเจ้าพนักงานประเมินได้หรือไม่

เป็นที่ยอมรับกันว่า การประเมินภาษีในบางครั้ง แม้ผู้เสียภาษีจะมีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินเป็นประโยชน์ เจ้าหน้าที่ประเมินภาษีก็อาจจะไม่ยอมรับหรือปฏิบัติตามคำพิพากษาได้เพราะอาจ จะอ้างว่าเหตุและข้อเท็จจริงอาจจะไม่ตรงกัน และอาจจะให้ผู้เสียภาษีต้องให้นำเรื่องดังกล่าวไปสู่ศาลได้อีก

แต่ส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ประเมินอาจจะยอมรับฟังคำวินิจฉัยของกรมสรรพากร ซึ่งได้ตอบไว้ในประเด็นดังกล่าว อาจจะเป็นคำวินิจฉัยโดยเฉพาะหรือคำวินิจฉัยทั่วไป หรือหนังสือเวียนของกรมสรรพากร

ดังนั้น ผู้ที่ถูกประเมินจำเป็นจะต้องมีความรู้และความเข้าใจคำวินิจฉัยของกรม สรรพากรและคำพิพากษาตลอดจนกฎหมายนั้นเป็นอย่างดี ปัจจุบันผู้ถูกประเมินภาษีสามารถค้นคว้าคำวินิจฉัยนั้นได้จาก website กรมสรรพากร หรือ website ของศาลภาษีอากรกลางที่มีคำพิพากษาฎีการวบรวมไว้

การรู้กฎหมาย คำวินิจฉัย คำพิพากษานั้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการประเมินโอกาสของผู้เสียภาษีและอธิบายชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ได้

ที่ 2 คือ รู้สิทธิตามกฎหมาย ก็คือ หลังจากรู้กฎหมายแล้ว ต้องรู้ว่าผู้เสียภาษีมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร เช่น การรู้สิทธิตามกฎหมายต้องตรวจสอบดูว่า การประเมินต้องชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องพิจารณาว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ประเมินนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ สิทธิของผู้เสียภาษีในการขอลดเบี้ยปรับได้ แม้ว่าจะขอลดเงินเพิ่มไม่ได้ แต่ว่าจะมีการลดเงินเพิ่มในบางกรณีเมื่อมีการขยายระยะเวลาการชำระภาษี สิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยการประเมินของเจ้าพนักงานต่อพนักงานอุทธรณ์ และฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง

การใช้สิทธิมีกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ ผู้ถูกประเมินจึงต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการใช้สิทธิตามกฎหมาย

ที่ 3 คือ รู้แนวทางการประเมินของกรมสรรพากรว่า จะประเมินเรื่องอะไร ใน ทางปฏิบัติกรมสรรพากรเน้นหนักเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายถูกต้องหรือไม่ จึงต้องดำเนินการให้ผู้จ่ายหักให้ครบ รายจ่ายที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

ที่ 4 คือ รู้เขา รู้เรา ข้อนี้สำคัญมาก เพราะว่าเมื่อมีการประเมิน ผู้เสียภาษีอย่าตกใจหรือกลัวเกินไปกว่าเหตุ หรือแสดงความโกรธหรือไม่พอใจต่อเจ้าพนักงานประเมิน เพราะความจริงแล้วเจ้าหน้าที่สรรพากรก็เป็นข้าราชการซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ เราก็ต้องรู้ว่าท่านต้องปฏิบัติตามหน้าที่ โดยควรเข้าใจและทำความรู้จักว่าท่านเป็นคนแบบใด และมีแนวคิดหรือเหตุผลอย่างไร และผู้ถูกประเมินควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เป็นมิตรกับกรมสรรพากร ชี้แจงอย่างมีเหตุมีผล อย่าคิดว่าเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เพราะโดยหลักการแล้ว กรมสรรพากรก็เห็นว่าผู้เสียภาษีเป็นลูกค้ารายหนึ่ง การพูดคุยอย่างมีเหตุมีผล โปร่งใส ชัดเจน ก็จะทำให้สามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้น ข้อสำคัญคือ อย่าใช้ประเด็นกฎหมายเพียงอย่างเดียว ต้องรู้จักประเมินสถานการณ์ว่า การถูกประเมินนั้นเป็นการผิดพลาดทางเทคนิค หรือเป็นการผิดพลาดโดยจงใจของผู้เสียภาษี เพราะถ้าหากเป็นการผิดพลาดทางเทคนิค หรือผิดพลาดโดยไม่จงใจแล้ว ก็สามารถเจรจาต่อรองให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรลดหย่อนได้เช่นกัน แต่ถ้าผู้เสียภาษีปฏิบัติถูกต้องก็ควรค่อยๆ อธิบายอย่างสมเหตุสมผล และที่สำคัญคือ ต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ด้วย

ต้องยอมรับว่าผู้เสียภาษีต้องอยู่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สรรพากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การรู้เขารู้เราที่ต้องอยู่อย่างเป็นมิตร รู้ว่าเจ้าหน้าที่แต่ละท่านมีทัศนคติอย่างไร และมีใครบ้างที่พอจะรู้จักฝากฝังเพื่อการพูดคุย ตลอดจนเจรจาต่อรองจะสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม

และ ข้อ 5 คือ รู้ วิธีการเตรียมการ เมื่อ ถูกประเมินแล้ว ก็จะต้องมีการเตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เตรียมคำให้การ แนวทางกฎหมาย คำวินิจฉัย คำพิพากษาของศาลเพื่อสนับสนุนการตีความ ตรวจสอบว่าเงื่อนไขที่จะขอยกเว้นนั้นจะครบถ้วนหรือไม่ โดยต้องปรึกษานักกฎหมายภาษีที่มีความรู้ความสามารถในการเตรียมการ

5 ร ที่ผู้เขียนแนะนำให้กับท่านผู้เสียภาษีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เสียภาษีสามารถนำไปใช้ได้ และสามารถใช้ประโยชน์เมื่อมีการถูกประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ ผู้เขียนเชื่อว่าการเตรียมการให้พร้อม การศึกษาหาความรู้ในเรื่องภาษีอากรของผู้เสียภาษีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เสียภาษีต้องมี 5 ร โดยทำงานร่วมกับนักกฎหมายภาษีนั้นอย่างใกล้ชิด ถ้าหากท่านผู้อ่านสามารถปฏิบัติตามบทความและแนวทางที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้นี้แล้ว การประเมินภาษีก็ไม่ใช่เรื่องที่จะกวนใจท่านอีกต่อไป แต่หากจะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการถูกประเมินภาษีได้ก็จะดีที่สุด โดยพยายามปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายให้มากที่สุด

ที่มา : โพสต์ทูเดย์  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 และ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

 

 


ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 2

กลยุทธ์ 10 ประการ เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

 

จากประสบการณ์ของผู้เขียน โดยทั่วไปถ้าหากผู้ประกอบการดำเนินการถูกต้อง โอกาสจะถูกตรวจสอบหรือถูกประเมินภาษีอากรก็เกิดขึ้นได้ยาก แต่ในความเป็นจริงสถานะการเงินการคลังของประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรม สรรพากรมุ่งจะตรวจสอบผู้ประกอบการที่ประกอบถูกต้อง เพราะอาจพบ

ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อม เพราะแม้หากจะมีการตรวจสอบหรือประเมินภาษีอากรแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถเจรจากับเจ้าพนักงานได้ และหากถูกประเมินก็สามารถอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ หรือต่อศาล เพื่อให้คำอุทธรณ์ของตนได้รับชัยชนะถึงที่สุด

กลยุทธ์ 10 ประการที่ผู้เขียนขอให้พิจารณามีดังนี้

1.ผู้ประกอบการควรจะจัดทำบัญชี รวมทั้งการยื่นแบบเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยจะต้องดูให้ถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาด เพราะการยื่นแบบหรือการทำบัญชีที่ผิดพลาดนั้น จะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สงสัยและเริ่มให้มีการตรวจสอบผู้เสีย ภาษีอากรนั้นเสียภาษีถูกต้องหรือไม่

อาทิเช่น ในกรณีที่เป็นบริษัทต้องดูว่าแบบที่ยื่นโดยเฉพาะการหักค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ควรจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องห้ามหรือมีปัญหา ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องดูว่า ค่าใช้จ่ายที่หักนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การทำบัญชีหรือยื่นแบบควรเป็นหน้าที่ของ นักบัญชี และนักกฎหมาย ผู้มีความชำนาญในเรื่องภาษีอากรโดยเฉพาะ

2.หากจะต้องมีการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือภาษีซื้อของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ผู้ประกอบการต้องมั่นใจว่า จำนวนเงินที่ขอคืนภาษีกับผลกระทบที่อาจจะได้รับในการตรวจสอบภาษีนั้นจะคุ้มกัน เพราะมิฉะนั้นแล้วหากการขอคืนภาษี กรมสรรพากรก็อาจจะมีการตรวจสอบบัญชีของผู้ประกอบการและอาจจะพบว่าผู้เสีย ภาษีเสียภาษีไม่ถูกต้องในหลายรายการ จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก และปัจจุบันกรมสรรพากรก็ได้ระบุในแบบยื่นเสียภาษีให้บริษัทขอคืนภาษีเลย เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเสียภาษีให้ถูกต้องเพราะอาจถูกตรวจสอบจากการขอคืน

 

3.เมื่อมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมา ควรต้องพิจารณาดูว่า หมายเรียกหรือหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือการประเมินนั้นถูกส่งโดยชอบด้วยหรือไม่ มีผู้ลงนามโดยชอบด้วยหรือไม่ เพราะกฎหมายบังคับให้ส่งโดยลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานไปส่งในเวลา พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกในเวลาทำงาน หรือจะส่งให้แก่บุคคลใดที่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะก็ได้ และตามกฎหมายนั้นถ้าหากส่งไม่ได้นั้น กรมสรรพากรมีอำนาจที่จะใช้วิธีปิด

เพราะฉะนั้น การถือว่าได้รับหรือไม่ได้รับนั้นจึงมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากว่ามีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับระยะเวลาการอุทธรณ์และการดำเนินคดี ด้วย

4.ผู้ประกอบการหรือผู้ได้รับหมายเรียกต้องให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่ โดยอาจขอเวลาจัดเตรียมเอกสารและให้ความร่วมมือในการให้ข้อเท็จจริงและปากคำอย่างเต็มที่ โดยจัดส่งเอกสารพร้อมเก็บหลักฐานในการนำส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานที่ออกหมาย เรียก รวมทั้งคำให้การทั้งหมดโดยต้องปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำเอกสารนั้นๆ เพราะว่าข้อเท็จจริงนี้จะมีส่วนสำคัญยิ่ง

ถ้าหากมีการประเมินภาษี ผู้ถูกประเมินจะได้นำข้อต่อสู้ดังกล่าวนั้นมาใช้ในการอุทธรณ์ ทั้งในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และชั้นศาล ข้อสำคัญคือ หากไม่ให้ความร่วมมือ และจะถูกประเมินภาษีแล้วก็อาจจะต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามกฎหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ยอมตอบข้อคำถามหรือว่าซักถาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย โดยคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน

5.โดยปกตินั้น ตามกฎหมายเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะออกหมายเรียกการประเมินได้นั้น จะต้องกระทำภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการ แต่ไม่เกิน 7 ปี ถ้าหากปรากฏว่ามีการสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายการออกหมายเรียกได้เกินกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องสำคัญมากว่า หมายที่ออกนั้น ชอบหรือไม่ และจะต้องเป็นเรื่องที่ให้แน่ใจว่าผู้ประกอบการใดยื่นแบบนั้นจะต้องยื่นภาย ในที่กำหนด

เพราะว่าหากเลย 2 ปีแล้ว การออกหมายย่อมไม่ชอบ เว้นแต่กรมสรรพากรจะเห็นว่าเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร

6.เมื่อได้รับหมายเรียกหรือหมายประเมินนั้น ควรจะปรึกษากับทนายความผู้รู้หรือนักบัญชีในการที่จะเตรียมตัวไปให้ถ้อยคำ จัดเตรียมเอกสาร เพื่อให้มั่นใจว่าการให้ถ้อยคำนั้นจะได้ไม่เป็นปฏิปักษ์ หรือมีผลเสียหายต่อคดีของตน ถ้าหากจะต้องดำเนินคดีในทางการอุทธรณ์หรือในชั้นศาลต่อไป รวมทั้งอาจมีการเจรจาประนีประนอมยอมความในชั้นออกหมายเรียกก็ได้ เช่น การให้ลดภาษี หรือยกเว้น หรือลดเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

7.เมื่อได้รับหมายประเมินภาษีควรจะต้องให้แน่ว่ารับหมายเมื่อไร เพราะกฎหมายกำหนดว่าโดยจะต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน หากต้องการอุทธรณ์ โดยการที่ระหว่างอุทธรณ์นั้นจะต้องปรึกษาทนายความหรือนักบัญชีอย่างรอบคอบใน การเตรียมคำอุทธรณ์ และยื่นคำอุทธรณ์ให้การอุทธรณ์นั้นจะต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินหรือเรียกเก็บเงิน โดยจะต้องทำตามแบบและยื่นให้ถูก เช่น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ที่กรมสรรพากร หรือที่สรรพากรจังหวัด

8.ในกรณีที่การวินิจฉัยของคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ซึ่งปกติแล้วส่วนใหญ่มักจะใช้เวลานานมาก ผู้ประกอบการอาจจะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร หรือศาลจังหวัด ในกรณีที่ศาลภาษีอากรไม่มีเขตอำนาจภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบวันที่ได้รับคำวินิจฉัย อุทธรณ์

แน่นอนที่สุดการที่จะพิจารณาว่าควรอุทธรณ์หรือไม่นั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาให้ดีว่าคุ้มค่าหรือไม่

9.ในกรณีที่มีการอุทธรณ์ไม่ว่าในชั้น ของคณะกรรมการอุทธรณ์หรือในชั้นศาลก็ดี จะต้องมีการชำระภาษีโดยการวางประกันหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปก่อน เพราะว่าการอุทธรณ์นั้นไม่เป็นเหตุให้มีการทุเลาการเสียภาษีอากร หากปล่อยไว้อาจถูกยึดทรัพย์สินมาชำระหนี้ภาษีอากรได้

10.การดำเนินธุรกิจ หลักฐานทั้งทางบัญชี การให้ถ้อยคำ และการอุทธรณ์ ไม่ว่าในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือชั้นศาลต้องสอดคล้องกัน และอยู่บนบรรทัดฐานของความเป็นจริง และพร้อมต่อการถูกตรวจสอบตลอดเวลา

หากผู้ประกอบการทำสิ่งใดอยู่บนพื้น ฐานแห่งความถูกต้องนี้แล้ว การถูกประเมินก็ย่อมน้อยลง หรือหากมีการประเมิน การต่อสู้คดีก็ง่ายขึ้น และทำให้โอกาสชนะคดีมีสูงขึ้นเช่นกัน

กลยุทธ์ 10 ประการข้างต้นคงจะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการและ ผู้วางแผนภาษีลดความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีลงได้ หาก ผู้ประกอบการคิดที่จะวางแผนภาษีก็คงจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ให้พร้อมกับ การถูกหมายเรียกและประเมิน

แต่หากท่านเตรียมตัวให้พร้อม ก็ย่อมจะยิ้มได้เมื่อภัยมาเสมอ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 19 สิงหาคม 2551


ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 3

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

1. หักรายจ่ายได้ 2 เท่า

- ค่าฝึกอบรมลูกจ้าง พนักงานลูกจ้่าง บจ., อบรมในสถานศึกษา, สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

- ค่าจ้างทำวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยี จ่ายให้แก่หน่วยงานรัฐ/เอกชน

- ค่าอบรม สัมมนาลูกจ้างในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นห้องสัมมนา ห้องพัก ค่าขนส่ง รายจ่ายที่จ่ายให้ธุรกิจนำเที่ยว

- ค่าเช่าพื้นที่ จัดนิทรรศการ แสดงสินค้า ค่าประกันภัย ค่าขนส่งสินค้า อุปกรณ์ใน/ต่างประเทศ มีหนังสือรับรองจากรัฐว่าเข้าร่วมงานจริง

- ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้าง และบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬา

2. หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า และอื่น ๆ

- รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอีก 25 % สำหรับค่าซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่เปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม

- ค่าใช้จ่ายพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

- รายจ่าย 1.5 เท่า สำหรับจ่ายค่าครองชีพของพนักงาน

3. ค่าสึกหรอ คอมพิวเตอร์ /อุปกรณ์ สำหรับ บจ./หสน. มีสินทรัพย์ถาวร ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

- เดิมหัก 5 ปี ปีละ 20 %

- หัก 40 % ในวันที่ได้มา ส่วนที่เหลือ ทยอยหักภายใน 3 ปี

4. บริษัทฯ ให้เช่ารถยนต์

- รถยนต์นั่ง ไม่เกิน 10 ที่นั่ง หัก 5 ปี ปีละ 20 % ของมูลค่าต้นทุนทั้งหมด จากเดิมไม่เกิน 1 ล้านบาท

5. บริษัทฯ ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

- รายจ่ายลงทุนต่อเติม หรือเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน สังหาริมทรัพย์ (มิใช่รถยนต์) หัก 60 % ในวันได้มา ส่วนที่เหลือทยอยหัก ภายใน 5 ปี

6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บจ./หสน. ที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

- กรณีไม่จำกัด อายุ หัก 10 ปี ปีละ 10%

- หัก 40% ในวันได้มา ที่เหลือทยอยหักภายใน 3 ปี

7. หักค่าสึกหรออัตราเร่ง

- จำนวนปีที่หักน้อยกว่าปกติ

- อัตราร้อยละที่หักในปีแรก หักได้มากกว่าปีอื่น ๆ แต่จำนวนปีที่หักยังคงปกติ

- อัตราร้อยละที่หักในปีแรก หักได้มากกว่าปีอื่น ๆ แต่จำนวนปีที่หักน้อยกว่าปกติ


ที่มา : กลุ่มบริหารการเสียภาษี SMEs  กรมสรรพากร วันที่ 14 กันยายน 2554

-------------------------------------------------------------------------------------

ข่าวสารภาษีเรื่องที่  4  

วิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีปลอมและใบกำกับภาษีที่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

วิธีการออกใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย

1.  ปลอมใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการที่ค้าขายปกติ

2.  ผู้ประกอบการที่มีการขายจริง  แต่ขายใบกำกับภาษีที่เหลือ

3.  จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  เพื่อออกใบกำกับภาษีขายให้ผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป

4.  จัดตั้งบริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อออกใบกำกับภาษี ให้บริษัทในเครือโดยเฉพาะ

 

ผู้ประกอบการจะตรวจสอบได้อย่างไร

1.  สังเกตความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้า

2.  สังเกตจากประเภทธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อใบกำกับภาษีปลอม

3.  คู่สัญญาขอให้แยกค่าบริการกับค่าสินค้าต่างหากจากกัน  โดยขอนำใบกำกับภาษีสินค้าจากผู้ขายมาให้โดยตรง

4.  เกลือเป็นหนอน  ทุจริตภายในองค์กร

5.  ของดีราคาถูก (ไม่มีจริง)

 

ข้อสังเกตในการตรวจใบกำกับภาษีที่อาจจะออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

1.  ประเภทสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง

- วัสดุก่อสร้าง  ,  ผ้า  พลาสติก  ,  กระดาษ  ,  เคมีภัณฑ์  ,  เพชร  พลอย

2.  สินค้าที่ซื้อไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ

3.  ซื้อจากสถานที่ที่ไม่น่าจะซื้อ

4.  ใบกำกับภาษีมูลค่าสูง , ราคาสินค้าหรือบริการไม่น่าเชื่อถือ  ,  เขียนด้วยลายมือ , จ่ายชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด

5.  ซื้อจากผู้ประกอบการรายเดียว   ในวันที่ติด ๆ กัน  หรือใกล้กัน

6.  ใบกำกับภาษีซื้อที่มีการนำมาใช้ในช่วงปลายเดือน  ปลายปี

7.  ใบกำกับภาษี ไม่พิมพ์ "เลขที่"

8.  แบบฟอร์มใบกำกับภาษีคล้ายกัน หรือลายมือที่เขียนคล้ายกัน  แต่ชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีแตกต่าง

9.  วิธีการซื้อสินค้า  ไม่ได้ซื้อจาก Suppier  โดยตรง  แต่ซื้อจากเซลล์ หรือพนักงานขายสินค้า

 

หาข้อเท็จจริงว่าปลอมหรือไม่

1.  พิจารณาการยื่นแบบ ภพ.30  ของผู้ออก

2.  พิจารณาสถานประกอบการผู้ออก

3.  พิจารณารายงานสินค้าและวัตถุดิบ (มีการบันทึกรับสินค้าหรือไม่)

4.  พิจารณาหลักฐานใบส่งสินค้า , ใบกำกับสินค้า

5.  พิจารณาขั้นตอนวิธีการซื้อสินค้า

-  วิธีการติดต่อซื้อสินค้า (ไปซื้อที่ร้าน , มีพนักงานขาย (เซลล์) , มีการติดต่อ , โทรศัพท์สั่งซื้อ )

-  บุคคลที่ติดต่อเป็นใคร

-  ส่งมอบสินค้าด้วยวิธีใด

-  วิธีชำระเงินค่าสินค้า

6.  ตรวจหลักฐานการจ่ายเงิน

-  จ่ายเป็นเช้ค A/C  payee only  เช็คกลับเข้าบัญชีกรรมการหรือไม่

-  จ่ายเช็คเงินสด

1.  เช็คกลับเข้าบัญชีบริษัทเอง  หรือเข้าบัญชีกรรมการ  หรือไม่

2.  ผู้รับเงินตามเช็คเป็นใคร

-  จ่ายเงินสด

1.  ซื้อจากรายอื่น ๆ  จ่ายชำระเป็นเงินสดหรือไม่

2.  มูลค่าสินค้าสูง  ไม่น่าจะจ่ายเงินสด

3.  ดู Cash  Flow

7.  พิจารณาผู้ทำบัญชี  สำนักงานบัญชี

 

การสอบยันผู้ออกใบกำกับภาษี

1.  ดูสถานประกอบการ

2.  ดูการยื่นแบบ ภพ.30

3.  ดูรายงานภาษีขาย

4.  ดูรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

5.  วิธีการส่งมอบสินค้า , การขนส่ง

6. หลักฐานการรับชำระค่าสินค้า

* เปรียบเทียบกับการขายให้กับรายอื่น ๆ ทั่วไปด้วย

 

การวางแผนเพื่อป้องกันใบกำกับภาษีปลอม

1.  สำรวจธุรกิจของตนเองว่า    เป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่จะได้ใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่  เช่น

1.1  ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง  โดยเฉพาะกรณีจ้างเหมาช่วงที่กำหนดว่าจ้างเฉพาะค่าแรงรับเหมา  แต่ผู้ว่าจ้างยอมให้ผู้รับจ้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการรับจ้างให้ด้วย

1.2  ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง

1.3  ธุรกิจซื้อมาขายไปประเภทผลิตภัณฑ์พลาสติก   เคมีภัณฑ์

1.4  ธุรกิจส่งออก

1.5  ธุรกิจผ้า  และการืเมนท์ ฯลฯ

2.  ติดต่อซื้อขายสินค้า  หรือรับบริการ  จากผู้ประกอบการจดทะเบียนเต็มรูปแบบรายอื่น ๆ  ที่คุ้นเคยและติดต่อค้าขายหรือให้บริการกันอยู่เป็นประจำ  ไม่ควรติดต่อซื้อสินค้า หรือรับบริการจากผู้ค้าขาจรที่ลักษณะเร่งร้อน  หรือลุกลี้ ลุกลน

3.  ในกรณีไม่มั่นใจ  ให้เรียกตรวจสอบหลักฐานทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)  ต้นฉบับที่กรมสรรพากรออกให้

4.  ไม่ควรซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด  โดยไม่มีเหตุอันสมควร  และตกลงซื้อขายเป็นเงินสด  โดยไม่มีการผ่อนระยะเวลาการชำระหนี้  ไม่ว่ากรณีใด ๆ

5.  ควรตรวจสอบรายการสินค้า  ตามหลักฐานใบกำกับภาษีกับที่ตกลงซื้อขายว่า  มีรายการตรงกัน

6.  ไม่ควรซื้อสินค้า หรือรับบริการ  จากผู้ประกอบการที่ไม่ยอมรับชำระหนี้ด้วยเช็คขีดคร่อมชนิดระบุชื่อผู้รับเงินตามเช็ค  (A/C payee only)  และขีดฆ่า  "ผู้ถือ"  ออก  เพราะหลักฐานชนิดนี้สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินตามเช็คได้  ซึ่งกรมสรรพากรยอมรับให้หักเป็นรายจ่ายได้  แม้จะไม่มีหลักฐานการรับเงินอื่นใด

7.  กำหนดระเบียบ  หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไข  ในการตรวจรับใบกำกับภาษีซื้อ  อย่างเป็นระบบ  และมีความรัดกุมเพียงพอ

 

ที่มา  : รู้ได้อย่างไร   ใบกำกับภาษีปลอม     กัมปนาท  บุญรอด   วันที่    26  กันยายน  2554 Smile

__________________________________________________________________

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 5

หลักเกณฑ์การคืนเงินสำหรับ รถยนต์คันแรก ที่สำคัญ

ส่วนวิธีการดำเนินงานนั้นกำหนดให้
1. ผู้ซื้อ   รถยนต์คันแรก ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต้องยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)
2. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอให้ตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ
3. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ลงในระบบคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน
4. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ส่งหนังสือรับรองการครอบครองรถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และ
5. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป.

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังเสนอครม.อนุมัติและจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2555 จำนวน 100 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ และเสนออนุมัติจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคันละ 1 แสนบาท

นอกจากนี้กระทรวงการคลังเสนอให้ครม.อนุมัติในหลักการให้หัวหน้าส่วนราชการกรมสรรพสามิต (อธิบดีกรมสรรพสามิต) หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจอนุมัติให้คืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกให้กับ ผู้ซื้อ และเสนอครม.มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมให้ความร่วมมือกับกรมสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดง หลักฐานการครอบครองรถยนต์คันแรก การบันทึกข้อมูลห้ามจำหน่ายโอนรถยนต์ภายใน 5 ปี ตามมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลต่อไป

 

ดังนี้คือ ต้องเป็น
1. เป็น รถยนต์คันแรก ของผู้ซื้อที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
2. เป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1,000,000 บาท/คัน
3. เป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถยนต์กระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab)
4. เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ)
5. คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/คัน
6. ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
7. ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี และ
8. การคืนเงินจะคืนให้เมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปี ไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป)

 

ที่มา :  news.mthai.com                                       (6/10/2554)

___________________________________________________________________

ข่าวสารภาษีเรื่องที่ 6

มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 1.5 เท่า

ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 1.5 เท่าของจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาค

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามที่ กระทรวงการคลังเสนอ ด้วยการกำหนดให้ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 31 ธันวาคม 2554 ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณลดหย่อยภาษีได้ 1.5 เท่าของจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาค ซึ่งครอบคลุมผู้บริจาคที่เป็นส่วนราชการ, กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี , องค์การหรือสถานสาธารณกุศล และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน หรือทรัพย์สินที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย

สำหรับบุคคลธรรมดาที่บริจาคได้กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะเงินเท่า นั้น เมื่อนำไปรวมกับเงินบริจาคอื่นๆ แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมิน หลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อน ขณะที่นิติบุคคลสามารถบริจาคได้ทั้งเงินและทรัพย์สิน เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์แล้วต้อง ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วประเทศได้ร่วมกันบริจาคเงินหรือสิ่ง ของในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

 

สำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ต้องการ เป็นตัวแทนรับบริจาคต้องแจ้งชื่อต่อกรมสรรพากร เพื่อแสดงว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลาง ในการเป็นตัวแทนรับเงินหรือทรัพย์สินหรือสินค้า โดยต้องแจ้งระหว่างเกิดเหตุอุบัติเหตุหรือภายใน 1 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดการเกิดอุทุกภัย

ที่มา :  สำนักข่าว  กรมประชาสัมพันธ์    13/10/2554

______________________________________________________

ข่าวสารภาษี  เรื่องที่  7 

ประเด็นการจัดการภาษีอากรกรณีประสบภัยพิบัติ

 

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีที่บัญชี เอกสาร หลักฐานที่สูญหายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือภัยพิบัติ

การปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล นั้น เมื่อได้แจ้งความไว้กับสถานีตำรวจที่อยู่ในท้องที่เกี่ยวกับรายละเอียดของ บัญชี เอกสาร หลักฐานที่สูญหายหรือเสียหายและสาเหตุที่เกิดความเสียหายดังกล่าว เพื่อเป็นหลักฐานแล้ว ให้ผู้ประกอบการดำเนินการดังนี้


1. สำหรับการคำนวณหากำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ดำเนินการ ดังนี้

(1) กรณีที่ผู้ประกอบการสามารถหาหลักฐานรายได้และรายจ่ายจากภายนอกได้ เช่น หลักฐานการรับเงิน การจ่ายเงิน หลักฐานจากตัวแทนขายสินค้า หลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย หลักฐานยอดขายและยอดซื้อจาก แบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลของผู้ประกอบการจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลแบบแสดงรายการต่าง ๆ ข้อมูลนำเข้า - ส่งออก สัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาซื้อขายสินค้า สัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับส่วนราชการและเอกชน หรือข้อมูลการประกอบกิจการขายสินค้าบางอย่างและสามารถหาหลักฐานได้โดยง่าย เช่น กิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ให้คำนวณหากำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิจากหลักฐานดังกล่าวโดยให้เป็นไปตาม เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หรือ

(2) ใช้รายได้และรายจ่ายทั้งปีตามที่ประมาณการไว้ หรือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิจริงของรอบระยะเวลาหกเดือน ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 51 คำนวณหากำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี หรือ

(3) กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะให้ คำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ โดยวิธีคำนวณหาอัตราร้อยละถัวเฉลี่ยของกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิต่อยอดราย รับก่อนหักรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีย้อนหลัง 3 ปี แล้วนำอัตราถัวเฉลี่ยคูณยอดขาย หรือรายรับจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะที่ยื่นแบบไว้ หรือ

(4) กรณีกิจการที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะรวมอยู่ด้วยกันให้คำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ โดยวิธีคำนวณหาอัตราร้อยละถัวเฉลี่ยของกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิต่อยอดราย รับก่อนหักรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีย้อนหลัง 3 ปี แล้วนำอัตราดังกล่าว คูณยอดรายได้ตามที่ปรากฏในแบบ ภ.ง.ด. 50 หรือจากการตรวจสอบ หรือจากการวิเคราะห์และตรวจนิติบุคคลที่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลชำระไว้เกิน แล้วแต่ยอดใดจะสูงกว่าของรอบระยะเวลาบัญชีย้อนหลัง 3 ปีถัวเฉลี่ย


ผลเสียหายจากภัยพิบัติฯ ที่จะนำมาคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคล ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 513) พ.ศ. 2554 และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554


2. กรณีที่เข้าเงื่อนไขการคำนวณภาษีเงินได้จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณหายอดขายหรือรายรับจากแบบแสดงรายการหรือข้อมูลการยื่นแบบแสดงรายการ บนเครือข่ายรัษฎากร โดยใช้วิธีเทียบเคียงยอดขายหรือรายรับที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือนภาษี เพื่อคำนวณหารายรับถัวเฉลี่ยต่อเดือน มาคำนวณหายอดขายหรือรายรับถัวเฉลี่ยรายวัน จากนั้นนำยอดรายรับถัวเฉลี่ยรายวันคูณด้วยจำนวนวันที่มีการประกอบการจริงใน เดือนภาษีนั้น หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้คำนวณจากข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายกรณีถูกผู้อื่นหักไว้ ตามหลักฐานที่บันทึกไว้บนเครือข่ายรัษฎากรของกรมสรรพากร

ที่มา  :   bangkokbiznews.com            7/1/2555

_______________________________________________________

ข่าวสารภาษี เรื่องที่ 8

นโยบายลดหย่อนภาษี  บ้านหลังแรก

นโยบาย บ้านหลังแรก : นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการบ้านหลังแรก สำหรับคนที่ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้คืนภาษี 10% โดยประชาชนผู้ที่จะได้สิทธิจะต้องซื้อบ้านของโครงการตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.2554 จนถึงสิ้นปี 2555

โดยกำหนดราคาบ้านเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท และให้หักลดหย่อนภาษีได้เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ครอบคลุมราคาอสังหาริมทรัพย์ในทำเลในเมืองและกลางเมือง

…………………………………………………………………………………………………

รายละเอียดโครงการบ้านหลังแรก เบื้องต้น

- หากซื้อบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ผู้ซื้อสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้านไปคำนวณหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 100,000 บาท ในระยะเวลา 5 ปี รวมเป็น 500,000 บาท
- หากซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท ก็จะได้ปีละไม่เกิน 2 หมื่นบาท  ในระยะเวลา 5 ปี รวมเป็น  100,000 บาท

ซึ่งก็คือ หักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายจริง

 

เงื่อนไข บ้านหลังแรก

ทั้งนี้ สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ของมาตรการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกนั้น ผู้ซื้อบ้านจะต้องเป็นผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเป็นผู้ซื้อบ้านหลังแรก ไม่รวมผู้ซื้อบ้านมือสอง หรือสร้างบ้านเอง สำหรับนโยบายนี้ ทางกรมสรรพากรประเมินว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีทั้งหมด (กรณีสูงสุด) ไม่เกิน 1,700 ล้านบาท

 

บ้านหลังแรก ครม.อนุมัติอีกแพคเกจ ราคาไม่เกิน 1 ล้าน ดอกเบี้ย 0% 3ปี

หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้(28ก.ย.) ครม. มีมติอนุมัติโครงการบ้านหลังแรก เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ด้วยการกำหนดวงเงินมูลค่าบ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 0% เป็นเวลานาน 3 ปี โดยจะให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นผู้ปล่อยกู้ ซึ่งรัฐบาลจะต้องชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้ 3 ใน 4 ของดอกเบี้ยทั้งหมด หรือประมาณ 300 ล้านบาท

ทั้งนี้มาตรการโครงการบ้านหลังแรกเดิม ให้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ 10% หรือไม่เกิน 500,000 บาทของมูลค่าบ้านไม่เกิน 5 ล้านบาท นั้น ที่ประชุมมีมติตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่ปรับปรุงใหม่ เป็นการหักโดยตรงจากเงินที่ต้องเสียภาษี ซึ่งเป็นการหักหลังจากที่คำนวณภาษีเสร็จแล้ว ในระยะเวลา 5 ปี ตกปีละไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้สิทธิประโยชน์กับผู้ซื้อบ้านได้มากที่สุด

ที่มา  :  mthai.com                      21/1/2555

_______________________________________

ข่าวสารภาษี เรื่องที่ 9

การชำระค่าภาษีอากร ณ กรมศุลกากร  

เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ออกเลขที่ใบขนสินค้าให้แล้ว สามารถไปชำระค่าภาษีอากร ณ หน่วยการเงินของท่า หรือที่ หรือสนามบินที่นำของเข้า/ส่งของออก โดยแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าและจำนวน ค่าภาษีอากร เพื่อยื่นขอชำระค่าภาษีอากรเป็นเงินสด หรือแคชเชียร์เช็คหรือบัตรภาษีเมื่อเจ้าหน้าที่หน่วย การเงินได้รับชำระค่าภาษีอากรแล้ว จะสั่งพิมพ์และลงนามในใบเสร็จรับเงิน เพื่อมอบใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระ ค่าภาษีอากรทันที



ชำระเงินผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer : EFT)

กรมศุลกากรให้บริการรับชำระค่าภาษีอากรในการผ่านพิธีการทางศุลกากรทาง อิเล็กทรอนิกส์แบบ ไร้เอกสารแก่ผู้นำของเข้า/ผู้ส่งของออกโดยวิธีหักบัญชีเงินฝากของผู้ชำระ เงินจากธนาคารศุลกากร (Customs Banks)ที่ให้บริการและโอนเงินผ่านระบบอัตโนมัติของธนาคารศุลกากร เพื่อนำเงินเข้าบัญชี รับชำระเงินของกรมศุลกากร ซึ่งต้องดำเนินการ ดังนี้

1. ให้แจ้งความประสงค์ขอชำระค่าภาษีอากรโดยระบุหักบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ของผู้ชำระค่า ภาษีและโอนเงินผ่านระบบของธนาคารศุลกากร เพื่อนำเข้าบัญชีเงินฝากของกรมศุลกากรในขณะส่งข้อมูล ใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

2. เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรออกเลขที่ใบขนสินค้าให้ ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะส่ง ข้อมูลขอหักบัญชีเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทาง อิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารแจ้ง ไว้ไปยังธนาคารศุลกากร

3. ธนาคารศุลกากรดำเนินการขอหักบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว และโอนเงินผ่านระบบ ของธนาคารศุลกากร เพื่อนำเข้าบัญชีเงินฝากของกรมศุลกากรที่เปิดไว้กับธนาคารศุลกากร นั้น

4. เมื่อธนาคารศุลกากรสามารถหักบัญชีรับชำระค่าภาษีอากรได้และทำการตอบกลับการ นำเงินเข้า บัญชีเงินฝากของกรมศุลกากรแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะออกเลขรับชำระค่าภาษีอากรและ ส่งกลับข้อมูลให้ผู้ผ่านพิธีการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ทราบพร้อมกับ เปลี่ยนสถานะ ใบขนสินค้าเป็น “ใบขนสินค้าที่ชำระค่าภาษีอากรแล้ว” โดยอัตโนมัติ

5. ผู้นำของเข้า/ผู้ส่งของออก หรือตัวแทนออกของผู้รับมอบอำนาจที่ได้แจ้งชื่อ ลงทะเบียนต่อ กรมศุลกากรขอรับใบเสร็จรับเงินได้ ณ หน่วยบริการศุลกากรที่ตรวจปล่อยสินค้า โดยเจ้าหน้าที่หน่วย การเงินจะเรียกข้อมูลตามวันที่รับชำระและเลขที่ชำระอากรแล้วสั่งพิมพ์พร้อม ลงนามในใบเสร็จรับเงิน ของใบขนสินค้าแต่ละฉบับ

6. กรณีไม่สามารถหักบัญชีเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทาง อิเล็กทรอนิกส์ แบบไร้เอกสารแจ้งไว้ได้ ให้ดำเนินการชำระค่าภาษีอากร ณ กรมศุลกากร

7. ธนาคารศุลกากร (Customs Banks) ที่ให้บริการได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.ธนาคารกรุงไทย บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บมจ.ธนาคารกสิกรไทย บมจ.ธนาคารไทยธนาคาร บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารดอยซ์แบงก์ และธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

ที่มา  :  customs.go.th                                      28/1/2555

____________________________________________________________

ข่าวสารภาษี  เรื่องที่  10

ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล  ในปี 2555

การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรฯ

 

นิติบุคคล สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้


1.  “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม” ในที่นี้ หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท 

คำว่า “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย หรือโอนสินค้า โดยมีหรือไม่มีประโยชน์หรือค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงสัญญาให้เช่าซื้อสินค้า สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว และการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร

คำว่า “สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ที่มีไว้เพื่อขายเท่านั้น

คำว่า “บริการ” หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า

2. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม (ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป

(1) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังเช่นที่เคยได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551

(2) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท ให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ  

(3) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท ให้คงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ 

(ก) ร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 

(ข) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

ที่มา  :  กรุงเทพธุรกิจ                                30/1/2555

______________________________________________________________

ข่าวสารภาษี  เรื่องที่  11

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  13  หลัก

"สรรพากร" ประกาศใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก เป่านกหวีดเริ่ม 1 ก.พ.นี้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจระหว่างหน่วยงานกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม เพื่อการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นการลดขั้นตอนในการติดต่อขอเลขประจำตัวในการประกอบธุรกิจ

นางจิตรมณี สุวรรณพูล รองอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้เสียภาษีสรรพากรทุกประเภท ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ที่ใช้อยู่เดิม ในการยื่นแบบแสดงรายการ การชำระภาษี

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น



โดยในการกำหนดใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักนั้น ได้แบ่งการใช้ออกตามประเภทของผู้เสียภาษีอากร ดังนี้

1. ผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

2. ผู้เสียภาษีประเภทนิติบุคคลไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศ ที่ต้องจดทะเบียน หรือขออนุญาตกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

3. ผู้เสียภาษีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก ที่กรมสรรพากรออกให้

ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้ผ่อนปรนให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ใบกำกับภาษี ใบรับและใบส่งของ ที่จัดพิมพ์ไว้แล้วโดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดิมต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2556

โฆษกกรมสรรพากรกล่าวต่อไปว่า การใช้เลขประจำตัว 13 หลักดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจระหว่างหน่วยงานกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม เพื่อการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นการลดขั้นตอนในการติดต่อขอเลขประจำตัวในการประกอบธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้น

ที่มา  :   ผู้จัดการ                         30/1/2555

____________________________________________________________

ข่าวสารภาษี  เรื่องที่ 12

สิทธิประโยชน์กิจการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

การส่งเสริมการลงทุน (BOI)

การ ส่งเสริมการลงทุนเป็นมาตรการหนึ่งในหลายมาตรการในการดึงดูดนักลงทุนจากต่าง ประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบด้านการส่งเสริมการลงทุน คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมการลง ทุนกรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลและรับผิดชอบในเรื่องภาษีอากรของ รัฐและเพื่อการส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการจึงต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติ สำหรับการปฏิบัติในการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบของผู้ประกอบการที่ได้ รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ ด้านภาษีอากรขาเข้า รวมไปถึงควบคุมดูแล อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิ ประโยชน์ทางด้านภาษีอากร

1 สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

 

(1) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรหรือได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรลงเหลือกึ่งหนึ่ง

(2) ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือในบางเขตจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 -8 ปี

(3) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา1-5ปีแล้วแต่เขตที่โรงงาน
ตั้งอยู่

(4) อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาเป็น 2 เท่าเป็นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้

(5) อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุนในการนั้น

หลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะถือเป็นแนวทางในการให้สิทธิ
และ ประโยชน์แก้ผู้ประกอบการแต่ทั้งนี้อาจมีข้อยกเว้นในกรณีที่ประเภทกิจการที่ จะให้การส่งเสริมนั้นคณะกรรมการได้ประกาศกำหนดเงื่อนไขเฉพาะเกี่ยวกับการให้ สิทธิและ ประโยชน์ด้านภาษีอากรไว้เป็นอย่างอื่น


2 พิธีการศุลกากรที่ควรทราบสำหรับของที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

 


(1) การปฏิบัติพิธีการนำเข้าสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าประเภทส่งเสริมการลงทุน
ผู้นำของเข้าจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าประเภทการส่งเสริมการลงทุน (แบบ กศก.99/1) และเอกสารประกอบตามที่กำหนดให้จัด เตรียมในการนำเข้าปกติพร้อมสำเนาคู่ฉบับหนังสือสั่งปล่อยของ BOI
ผู้นำเข้านำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อท่าหรือที่นำของเข้า 
กรม ศุลกากรจะดำเนินการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ประเมินราคา-อากร และสั่งวางประกัน หรือยกเว้นภาษีอากร หรือการลดหย่อนภาษีอากร หรือเรียกเก็บภาษีอากรแล้วแต่กรณี แล้วคืนเอกสารให้ผู้นำเข้า
ผู้นำเข้านำเอกสารไปติดต่อวางประกันหรือชำระอากร (ถ้ามี) ณ ฝ่ายบัญชีและอากร
ผู้ นำเข้านำหลักฐานการชำระอากรหรือวางประกันพร้อมเอกสารอื่น ๆ ทั้งหมดไปขอรับสินค้า ณ ส่วนตรวจสินค้า ซึ่งจะทำการตรวจปล่อยสินค้าเช่นเดียวกับการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าตามปกติ

(2) การค้ำประกันค่าภาษีอากร การค้ำประกันค่าภาษีอากรตามช่วงระยะเวลาที่สำนักงานส่งเสริมการลงทุนกำหนดให้กระทำ ณ ท่า หรือที่ที่นำของเข้า

(3) บัญชี รายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาผลิต ผสมหรือประกอบ เป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลซึ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุนให้ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะ ต้องนำเข้าตามช่วงระยะเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด รายการและปริมาณของของดังกล่าวข้างต้นนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นผู้จัดทำและแจ้งกรมศุลกากร โดยจัดทำเป็น 2 บัญชีคือบัญชีแสดงรายการและปริมาณ วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรในแต่ละ บัญชีราคาสินค้าที่นำเข้า และเป็นรายงวด 6 เดือน ในการนี้ กรมศุลกากรได้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุมบัญชีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเฉพาะเป็นรายงวด 6เดือนดังนี้ 
สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ รับผิดชอบการนำเข้าทางเรือในเขต ท่ากรุงเทพ
สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ รับผิดชอบการนำเข้าทางท่าอากาศยานกรุงเทพ
ด่านศุลกากรที่นำของเข้า รับผิดชอบการนำเข้าทางด่านศุลกากรนั้นๆ ตามหนังสืออนุมัติของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนส่วนภูมิภาค

(4) การ โอนวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องโอนวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ได้ยื่นไว้แล้วจาก บัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่ง ผู้นำของเข้าต้องยื่นคำร้องขอโอนวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ตามแบบ กศก. 82 พร้อมสำเนา 1 ฉบับ ให้ผู้ควบคุมบัญชีที่ขอโอนตรวจสอบ เมื่อพิจารณาอนุมัติแล้วหน่วยงานที่ควบคุมบัญชีขอโอนจะส่งต้นฉบับคำร้องไป ยังหน่วยงานที่รับโอน และเก็บสำเนาคำร้องไว้เป็นหลักฐานที่หน่วยงานของผู้ควบคุมบัญชีที่ขอโอน

(5) การ ตัดบัญชีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องจัดทำรายงานสรุปยอดบัญชีรายการวัตถุดิบและ วัสดุจำเป็นที่นำเข้าส่งให้สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่เป็นหน่วยงาน ควบคุมบัญชีภายใน 15 วัน เพื่อกรมศุลกากรจะได้ดำเนินการปิดงวดบัญชีและแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการส่ง เสริมการลงทุนทราบ โดยตรงหากกรมศุลกากรตรวจพบวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามีปริมาณหรือมี ระยะเวลาการนำเข้าเกินจากบัญชีวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่ได้รับแจ้งจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะพิจารณาความผิดและดำเนินการด้านคดีต่อไป

ที่มา  :  Custom.go.th                                        วันที่  7/3/2555

______________________________________________________________________________

ข่าวสารภาษี เรื่องที่ 13

ค่าส่งเสริมการขายกับภาระภาษี

แนวคิด/หลักการ

ตามประมวลรัษฎากรฉบับปัจจุบัน กรณีการส่งเสริมการขาย (ลด แลก แจก แถม) จะมีภาระภาษีหลัก ๆ มาเกี่ยวข้อง 3 กรณี ดังนี้

ประเภทภาษี หลักเกณฑ์ กฎหมายอ้างอิง

ภาษีเงินได้นิติบุคคล อำนาจในการประเมินรายรับกรณีมีการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าฯ โดยไม่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด ม. 65 ทวิ (4)

VAT - อำนาจในการประเมินรายรับเพิ่มกรณีผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงมูลค่าฐานภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง ม. 88/2 (3) , (4)

- การให้ส่วนลดที่จะลดฐานภาษีต้องเป็นกรณีส่วนลดการค้า (Trade Discount) ม. 79 (1)

- การยกเว้นภาษีขายต้องเป็นการแถมพร้อมขายและมูลค่าของแถมไม่เกินมูลค่าสินค้า ที่ขาย และการแจกของขวัญของชำร่วยสินค้าตัวอย่าง ประกาศ Vat#40 และ #55

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - การประกวดแข่งขันชิงโชคต้องหัก ณ ที่จ่าย 5% ทป.4/2528 (ข้อ 9 (1))

- การจ่ายเงินรางวัลเพื่อการส่งเสริมการขาย ต้องหัก ณ ที่จ่าย 3% ทป.4/2528 (ข้อ 12/2)

ปัญหา

กฎหมายภาษีวางหลักเกณฑ์ และเงื่อนทางภาษีในหลายกรณีแตกต่างจากประเพณีธุรกิจ และยังมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเภทภาษี กรณีนี้จึงทำให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติผิดพลาดและต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม อยู่บ่อยๆ ทั้งๆ ที่ภาระภาษีจากการส่งเสริมการขาย มิได้มีเม็ดเงินอย่างเป็นสาระสำคัญแต่อย่างใด

วิธีแก้ไข

(1) บริษัทต้องมีแคมเปญส่งเสริมการขาย (Promotion Campaign) เป็น Supporting Documents อย่างชัดเจน เพื่อพิสูจน์ คำว่า “เหตุผลอันสมควร” ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (4)

(2) การให้ส่วนลด จะต้องเป็น Trade Discount และหากเป็นการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ขายจะต้องแสดงทั้งราคาขาย ส่วนลดและราคาขายสุทธิ จึงจะเข้าเงื่อนไข ที่สามารถนำส่วนลดดังกล่าวมาลดยอดฐานภาษีลงมาได้ (ม.79(1))

(3) การแถมสินค้า จะต้องมีแคมเปญรองรับ และต้องเป็นการแถมพร้อมขาย โดยมูลค่าของแถมต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขาย (Vat#40)

(4) การแจกสินค้าตัวอย่าง จะต้องเป็นกรณีของ Sample ที่ให้ทดลองใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เลือกปฏิบัติ กรณีนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีขาย (Vat#55)

(5) ของขวัญ ของชำร่วย กระเช้าปีใหม่ ฯลฯ นั้น เคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 2761/2524 วินิจฉัยให้เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (รายจ่ายส่วนตัว) แต่กรมสรรพากรได้ออกคำวินิจฉัย อนุโลมให้ถือเป็นค่าโฆษณาได้

ส่วนในแง่ Vat#55 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าต้องเป็นการแจกเนื่องในเทศกาล โดยมีชื่อบริษัทติดอยู่ เป็นสิ่งของที่พึงให้กันตามประเพณี และมีมูลค่าไม่เกินสมควร จึงจะไม่เสียภาษีขาย (Vat#55)

ที่มา  :  อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์                                 28/3/2555

___________________________________________________________________

ข่าวสารภาษี เรื่องที่ 14

มาตรการภาษีอากรที่ช่วยผู้เกษียณอายุ

มาตรการภาษีอากรที่ช่วยผู้ที่เกษียณอายุแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ

 

1.

การลดภาษีของเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน

 

มาตรา 48 (5)
ของประมวลรัษฎากรกำหนดหลักเกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับ การหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อลดภาระภาษีให้ผู้ที่นายจ้างจ่ายเงินครั้ง เดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งรวมทั้งกรณีที่พนักงานเกษียณอายุด้วย โดยเขาต้องทำงานกับนายจ้างรายนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ค่าใช้จ่ายที่ให้หักเพิ่มขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้

 

ขั้นที่ 1
พนักงานหักค่าใช้จ่ายได้ตามจำนวนปีที่ทำงาน ปีละ 7,000 บาท แต่ถ้าเงินที่จ่ายให้นี้มีการแบ่งจ่าย เช่น จ่ายก้อนหนึ่งในปีที่ออกจากงาน และอีกส่วนหนึ่งลักษณะคล้ายบำนาญที่จ่ายภายหลังจากนั้น การหักค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะได้เพียงปีละ 3,500 บาท ในการคำนวณจำนวนปีให้ถือปีที่ทำงานจริง ถ้ามีเศษของปีถึง 183 วัน ก็ให้ถือเป็น 1 ปี แต่ถ้าเศษไม่ถึง 183 วัน ให้ปัดทิ้ง ตามมาตรา 48 (5) วรรค 4 ของประมวลรัษฎากร

ขั้นที่ 2
เงินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายในขั้นที่ 1 ให้หักเป็นค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่งของส่วนที่เหลือ ทั้งนี้ รายละเอียดมีอยู่ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 45 ข้อจำกัดของการหักค่าใช้จ่ายขั้นที่ 2 นี้ มีว่า เงินที่จะนำมาใช้คำนวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณ ด้วยจำนวนปีทีเข้าทำงาน ทั้งนี้ เงินเดือนเดือนสุดท้ายจะต้องไม่เกินเงินเดือนถัวเฉลี่ยของสิบสองเดือนสุด ท้ายก่อนออกจากงานบวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น โปรดศึกษารายละเอียดได้ในข้อ 3. ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 73

 

การที่พนักงานสามารถหักค่าใช้จ่ายของเงินที่จ่ายครั้ง เดียวเมื่อออกจากงานได้เป็นพิเศษแบบนี้ ช่วยให้พนักงานซึ่งได้รับเงินก้อนโดยเฉพาอย่างยิ่งในยามเกษียณได้รับการลด ภาษีลงเป็นจำนวนมาก จึงช่วยให้คนเกษียณอายุมีเงินสำหรับดูแลตัวเองในบั้นปลายของชีวิตได้มากขึ้น

 

เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อออกจากงานนี้ให้รวมถึงเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย

 

2.

เงินที่รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

มนุษย์เงินเดือนที่ประสงค์จะออมเงินให้ได้มากและเงินโตขึ้นเร็ว ถ้าเขาทำงานกับนายจ้างซึ่งเป็นบริษัทห้างร้านที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ เขาควรรีบสมัครเป็นสมาชิกทันที เพราะเป็นการออมเงินประเภทเดียวที่มีคนมาช่วยสมทบด้วย กล่าวคือ พนักงานสามารถจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน โดยเงินสะสมใช้หักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ของพนักงานผู้นั้น

 

นอกจากนี้ นายจ้างยังต้องสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยในอัตรา 2-15% ของเงินเดือนพนักงานตามกฎข้อบังคับของกองทุน โดยเงินที่นายจ้างสมทบให้ถือเป็นส่วนของพนักงานที่ได้รับไว้โดยไม่ต้องเสีย ภาษี ในเวลาเดียวกันนายจ้างก็ใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อลด ภาษีเงินได้นิติบุคคลของนายจ้างได้อีกด้วย

 

โดยเหตุที่มีเงินจ่ายเข้ากองทุนสองทาง จึงทำให้เงินส่วนของพนักงานในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโตขึ้นอย่างทวีคูณ

 

กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 188 มาใหม่เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 โดยอาศัยอำนาจในข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ยกเลิกประกาศฉบับเดิมที่ 52 ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538

 

ประกาศฉบับใหม่ที่ 188 เพิ่ม เงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุแล้วได้รับเงินจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่าเขาจะได้ยกเว้นภาษีก็ต้องเป็นการเกษียณอายุตามข้อ บังคับของกองทุนที่มีใช้อยู่ในเวลาที่ออกจากงาน ทั้งนี้ พนักงานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน โดยไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของกองทุนเดียวหรือมีการโอนกองทุนมาจากกองทุนอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนนายจ้างก็ได้ รายละเอียดเป็นไปตามข้อ 3 (3) และวรรค 2 ของประกาศฉบับที่ 188

 

เพื่อช่วยให้พนักงานใช้ประโยชน์ตามประกาศฉบับที่ 188 ได้คล่องตัว คณะกรรมการกองทุนควรจะปรึกษากับผู้จัดการกองทุนเพื่อปรับแก้ไขถ้อยคำของข้อ บังคับกองทุนเพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับการทำงานของบริษัทว่า การเกษียณอายุจากกองทุนให้ถือหลักเกณฑ์เดียวกันกับการเกษียณอายุตามข้อ บังคับการทำงานด้วย

 

การยกเว้นภาษีสำหรับพนักงานที่มีอายุไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 5 ปี มีสองลักษณะดังนี้

  1. พนักงานออกจากงานเพราะตาย ซึ่งต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงความตาย คือ ใบมรณะบัตร
  2. ออกจากงานเพราะทุพพลภาพโดยมีหลักฐานจากแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ที่ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพจริง

    ข้อสังเกตุประการที่หนึ่งถ้าเป็นการเกษียณอายุทั่ว ๆ ไป ต้องมีหนังสือรับรองว่าพนักงานมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าการเกษียณอายุต้องออกจากงานโดยการบังคับ และได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน หากเป็นการเกษียณโดยการลาออกก็จะไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีในเงินที่รับจากกอง ทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานและนายจ้างจึงควรระวังให้มาก เพราะบริษัทหรือกองทุนมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

    ข้อสังเกตประการที่สองคือ กรมสรรพากรตีความว่า พนักงานมีสิทธิเกษียณอายุจากบริษัทหนึ่งได้เพียงหนเดียว ดังนั้น ถ้ากฎข้อบังคับการทำงานกำหนดให้เกษียณอายุเมื่อ 60 ปี โดยพนักงานใช้สิทธิยกเว้นภาษีในขณะนั้น ต่อมาบริษัทจ้างให้พนักงานทำงานต่อไปตั้งแต่อายุ 60 จนถึงอายุ 65 โดยยังให้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปจึงเป็นการทำงานติดต่อกันอีก 5 ปี แล้วเกษียณเป็นครั้งที่สอง กรมสรรพากรตีความว่าการเกษียณอายุในครั้งหลังนี้พนักงานไม่มีสิทธิได้รับยก เว้นภาษีของเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แม้ว่านายจ้างจะใจดีให้สิทธิแก่เขาตามข้อบังคับกองทุนก็ตาม

เมื่อเป็นดังนี้จะแก้ไขอย่างไร

  1. ถ้านายจ้างมีหลายบริษัท เมื่อพนักงานเกษียณจากบริษัท A แล้ว นายจ้างประสงค์จะให้ทำงานต่อก็ต้องย้ายเขาไปเป็นพนักงานของบริษัท B และเมื่อเกษียณจากบริษัท B ก็จะได้สิทธิยกเว้นภาษีจากเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท B ถือเป็นครั้งที่สอง
  2. หารือกับกรมสรรพากรให้ตีความกฎหมายให้กว้างขึ้นเพื่อ ประโยชน์แก่ผู้เกษียณอายุ โดยตระหนักว่าเขาทำงานให้ประเทศชาติและเสียภาษีมาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี การที่จะได้สิทธิยกเว้นภาษีรัฐควรที่จะใจกว้างเหมือนอย่างบางประเทศซึ่งให้ สิทธิพนักงานสามารถจ่ายเงินสะสมได้มากกว่า 15% โดยนายจ้างก็สมทบให้กับกองทุนได้มากกว่า 15% เช่นกัน และไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินทุกปี เพราะในบางช่วง เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ พนักงานอาจจะไม่มีเงินจ่ายเข้ากองทุน หรืออาจจะตกงาน หรือนายจ้างอาจจะไม่มีทุนพอที่จะจ่ายเงินสมทบ ตราบใดที่พนักงานยังมิได้ถอนเงินออกจากกองทุน เงินดังกล่าวก็ไม่ต้องเสียภาษี

ที่มา  :  ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร                              28/3/2555

_____________________________________________________________________

ข่าวสารภาษี  เรื่องที่  15

ผลทางภาษีในกรณีสินค้า/ทรัพย์สิน เสียหายจากอุทกภัย

มหาอุทกภัยในปีนี้ ได้ก่อความเสียหายต่อภาคธุรกิจของไทยอย่างมหาศาล บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ได้พยายามปกป้องกิจการจากอุทกภัยดังกล่าว ทั้งด้วยการป้องกันสารพัดวิธี การขนย้ายทรัพย์สินและสินค้าไปที่สูงหรือที่ปลอดภัย บางแห่งสามารถจัดการได้ทันท่วงที แต่บางแห่งก็ได้รับความเสียหาย เช่น กรณีน้ำเข้าท่วมรถถยนต์ที่ประกอบเสร็จ ซึ่งเป็นสินค้ารอการขายร่วม 200 คัน ของบริษัทผลิตรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง บทความนี้ จะวิเคราะห์ผลทางภาษีในกรณีสินค้า/ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

ในกรณีรถยนต์ซึ่งเป็นสินค้าของบริษัทได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ บริษัทย่อมสามารถนำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวน ไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เสมอหากสินค้าดังกล่าวไม่ได้มีการทำประกันไว้ เนื่องจากถือเป็นผลเสียหายของกิจการ แต่การนำมูลค่าต้นทุนของสินค้าไปหักเป็นรายจ่ายนั้น สิ่งที่บริษัทควรต้องพิจารณาประกอบจัดให้มีขึ้น คือ หลักฐานแสดงว่า สินค้านั้นเกิดความเสียหายจริง เช่น บันทึกการแจ้งความหรือบันทึกว่า น้ำท่วมขังสูงเท่าไรและเป็นระยะเวลานานเพียงใด มีสิ่งใดเสียหายบ้าง ภาพถ่ายทรัพย์สินที่เสียหาย เป็นต้น ซึ่งหากบริษัทมีสินค้าสูญหายจากการถูกโจรกรรม ในช่วงน้ำท่วม หรือถูกน้ำพัดพาไป ก็สามารถใช้หลักเกณฑ์ในการลงรายจ่ายได้เช่นเดียวกับกรณีสินค้าเสียหายข้างต้น

แต่หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า สินค้าของบริษัทได้มีการทำประกันภัยสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัย เมื่อบริษัทได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากการที่สินค้าเสียหาย ผลทางภาษีอากรก็จะแตกต่างกัน กล่าวคือ หากทำประกันไว้เท่ากับต้นทุนสินค้าอาจจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน กรณีย่อมไม่มีเงินได้เกิดขึ้น แต่หากทำประกันไว้เกินกว่ามูลค่าต้นทุนสินค้า เช่น ทำประกันไว้เท่ากับราคาที่คาดว่าจะขายได้ คือ 1.5 ล้านบาท แต่ต้นทุนจริงคือ 1 ล้านบาท ส่วนเกิน 500,000 บาทดังกล่าวยังถือเป็นเงินได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อการเสียภาษี

เนื่องจากรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยยกเว้นภาษีเงินได้ค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกัน แต่กฎใหม่นี้ใช้กับกรณีของทรัพย์สินเท่านั้น สังเกตจากการที่กฎหมายใช้คำว่า “เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคาแล้ว” ดังนั้นความหมายจึงแคบลง คำว่าทรัพย์สินดังกล่าวจึงไม่รวมถึงสินค้า ในกรณีของบริษัทรถยนต์ดังกล่าว ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกัน ส่วนที่เกินจากต้นทุนของสินค้า จึงถือเป็นเงินได้ของบริษัทที่จะต้องนำไปรวมคำนวนกำไรสุทธิต่อไป

ในกรณีสินค้าเสียหายทั้งหมดหรือบางส่วน ในส่วนที่เสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้ บริษัทย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ซึ่งต้องมีหลักฐานว่า ความเสียหายเกิดจากเหตุน้ำท่วมจริง เช่น ภาพถ่ายทรัพย์สินที่ถูกน้ำท่วม โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามคำสั่งกรมสรรพากร3 ซึ่งให้ใช้วิธีทำลาย หากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าดังกล่าวว่า เสียหายตามเงื่อนไขที่แต่ละกิจการได้กำหนดไว้หรือไม่ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหายตามเงื่อนไขที่กำหนดดังกล่าว

2. เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายแล้ว ให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย

ทั้งนี้ ในกรณีที่สินค้านั้นไม่สามารถเก็บไว้รอทำลายได้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้ แต่หากสามารถรอทำลายเมื่อมีปริมาณมาก ๆ ได้ ก็ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายด้วย

สำหรับในมุมของภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่สินค้าสูญหาย เสียหาย ย่อมทำให้สินค้านั้นขาดไปจากรายงานสินค้า หรือวัตถุดิบ ที่เรียกกันว่า สต๊อคสินค้า ซึ่งตามหลักปกติ จะถือว่าเป็นการขาย คือแม้ไม่ได้ขายจริงแต่กฎหมายให้ถือว่าได้ขายแล้ว จึงต้องนำมูลค่าต้นทุนสินค้านั้นมาคำนวณเป็นภาษีขาย โดยสามารถนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขายได้ตามปกติ แต่กรณีนี้ ก็จะไม่มีภาษีขายในส่วนของสินค้าที่เสียหายจากน้ำท่วม เนื่องจากได้ทำลายสินค้าไปแล้ว สมมุติว่า บริษัทจ่ายค่าซื้อชิ้นส่วนเพื่อนำมาประกอบเป็นตัวรถยนต์ไป 1 ล้านบาท สามารถนำมาประกอบเป็นรถยนต์ได้ 10 คัน มีภาษีซื้อ 7,000 บาท รถยนต์เสียหายไป 5 คัน รถยนต์คันที่เหลืออยู่ก็นำไปขายตามปกติ บริษัทยังสามารถนำภาษีซื้อทั้งหมดนี้ไปหักออกจากภาษีขายได้เต็มจำนวน

หากทรัพย์สินของกิจการได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ผลคือ หากทรัพย์สินนั้นซ่อมแซมได้ ก็เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพ เพื่อนำทรัพย์สินกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เพราะถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ  เช่น บริษัทซื้อเครื่องจักรมาราคา 1 แสนบาท ที่ใช้ในการผลิตสินค้า มีอายุการใช้งาน 5 ปี ใช้มาแล้ว 2 ปี หักค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคาไปแล้ว 40,000 บาท ยังเหลือมูลค่าอยู่ 60,000 บาท ถูกน้ำท่วมเสียหาย จ่ายค่าซ่อมเป็นเงิน 20,000 บาท ก็เพื่อให้เครื่องจักรนั้นสามารถใช้งานได้ตามปกติ คือเป็นการคงสภาพเดิมนั่นเอง จึงไม่ต้องห้ามหักเป็นรายจ่าย

ในกรณีที่บริษัททำประกันภัยทรัพย์สิน ผลทางภาษีอากร จะแตกต่างกันคือ ไม่ว่าจะซ่อมแซมได้หรือไม่ บริษัทประกันย่อมชดเชยให้ตามที่เสียหายจริง แต่หากได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่เสียหายจริง หรือเกินกว่ามูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่หลังหักค่าเสื่อมราคา บริษัทก็ยังได้รับยกเว้นภาษี เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าเกณฑ์กฎใหม่ดังที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น แต่บริษัทจะนำค่าซ่อมมาหักเป็นรายจ่ายอีกไม่ได้ เพราะได้รับการชดเชยครบถ้วนแล้ว

หากข้อเท็จจริงคล้ายกรณีเดิม เพียงแต่ค่าซ่อมสูงมากถึง 900,000 บาท จนใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อมาแล้ว กล่าวคือ ซื้อใหม่ยังจะเหมาะสมกว่า และสามารถทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นการลงทุน ในกรณีนี้ บริษัทต้องนำค่าเสื่อมราคามาหัก ตามหลักเกณฑ์ปกติ

ในมหาอุทกภัยครั้งนี้ บางบริษัทห้างร้าน ได้เตรียมตัวรับมือกับน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี เช่น ขนสินค้าไปเก็บในสถานที่ปลอดภัย ตั้งกระสอบทรายและก่อกำแพงปูนที่แข็งแรงและสูงเพียงพอ แม้น้ำมาไม่ถึง แต่ก็ดีกว่าไม่ป้องกันเลย ดังภาษิตที่ว่า “เตรียมตัวมาก เสียหายน้อย เตรียมตัวน้อย เสียหายมาก” หากใครอยากเสียหายน้อย ก็ควรเตรียมป้องกันไว้ให้มากสักหน่อย ไม่ควรรอพึ่งรัฐบาลหรือคนอื่น

 

ที่มา  : สุรีย์ลักษณ์  ธนากิจไพศาล                           10/10/2555

___________________________________________________________________________

ข่าวสารภาษี  เรื่องที่ 16 

ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 มกราคม 2555

รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ลดอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี จากอัตรา 30% เหลือ 23% และ 20% ตามลำดับ ดังนี้

สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เพียงหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 23% ของกำไรสุทธิ

สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไปอีกสองรอบระยะเวลาบัญชี ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 20% ของกำไรสุทธิ

ส่วนสาเหตุที่กำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราว เพียง 3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็สืบเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว โดยทั่วไปต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากรเป็นการถาวร แต่เนื่องจากกระบวนการในการแก้ไขกฎหมายโดยวิธีการดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลา ยาวนานมาก ในเบื้องต้นจึงใช้มาตรการตรากฎหมายระดับรอง คือ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรไว้ก่อน สำหรับการแก้ไขการลดอัตราเป็นการถาวรก็จะได้ดำเนินการต่อไป



ในคราวเดียวกันนี้ได้ปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท ที่เดิมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก และจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 15% ของกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 150,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 25% และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาท ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา
30%

โดยได้มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว ให้สอดคล้องกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลข้างต้น กล่าวคือ สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ยังคงยกเว้นและลดอัตราเหมือนเช่นเดิม แต่สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 1 ล้านบาทนั้น ลงเหลือ 23% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เพียงหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี และลดลงเหลือ 20% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไปอีกสองรอบระยะเวลาบัญชี


รวมทั้งปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทที่นำหลัก ทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลง ทุนในด้านต่าง ๆ ให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนให้มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่สอดคล้องกันไปด้วย ซึ่งมั่นใจว่าจะดึงดูดการลงทุนได้มาก.

ที่มา  :  เดลินิวส์                 24/3/2556

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าวสารภาษี เรื่องที่ 17

ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2556

ครม. มีมติอนุมัติ ปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงจาก 37% เหลือ 35% พร้อมปรับเพิ่มขั้นอัตราในการคำนวณเงินได้สุทธิจาก 5 ขั้น เป็น 7 ขั้น

นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงจากเดิม ที่เคยเรียกเก็บ 37% เหลือ 35% เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ให้มากขึ้น อีกทั้งยังเพื่อปิดช่องโหว่ในการเสียภาษีด้วย



นอกจากนี้ยังมีการปรับเพิ่มขั้นอัตราในการคำนวณเงินได้สุทธิ จากเดิม 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา ทั้งนี้สำหรับเงินได้สุทธิตั้งแต่ 0-300,000 บาท ซึ่งกำหนดอัตราภาษีที่ 5% นั้น ให้มีการยกเว้นภาษีสำหรับ 150,000 บาทแรก

อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2556 ที่จะยื่นในปี 2557 เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะกระทบรายได้ของรัฐในปีงบประมาณ 2556 ราว 25,000 ล้านบาท

ที่มา  :   www.kapook.com 4/7/2556

____________________________________________________________________________________

ข่าวสารภาษี  เรื่องที่  18

ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล  1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

แม้จะได้มีการประกาศลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 โดยเริ่มใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ผ่านพ้นไปนั้น เป็นปีแรกแล้ว

เนื่องจากในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้มีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 3 แสนบาทแรก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาอยู่ในขณะนี้นั้น นอกจากเพื่อให้สอดคล้องกันกับกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว รัฐบาลยังเล็งเห็นว่า เพื่อการบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 564) พ.ศ. 2556 ปรับปรุงการลดอัตราและการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้

1. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้

(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก

(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาทแรก

2. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้

(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ

(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินสามแสนบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ

การยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นกรณีที่ได้ล่วงพ้นไปหมดแล้ว ยังคงสิทธิประโยชน์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้คงเดิม ในส่วนของการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ต่างหากที่เป็นการปรับปรุงใหม่ โดยขยายการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นยกเว้นได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทแรก.

ที่มา  :  เดลินิวส์                                         4/7/2556

__________________________________________________________________________________

ข่าวสารภาษี เรื่องที่ 19

สรรพากรเร่งศึกษาโมเดลเกาหลี

สรรพากรเร่งศึกษากฎหมาย เล็งลดหย่อนภาษีดึงคนรูดซื้อสินค้า-บริการผ่านบัตรพลาสติกแทนเงินสด ยึดต้นแบบเกาหลีใต้ คาดเริ่มดำเนินการ มกราคม 2557 "วงใน" ตอกกลับ 1 กันยายน2556 โลคัลสวิตชิ่งมีผลบังคับแบงก์ต้องยอมเฉือนเนื้ออย่าค้ากำไรเกินควร "ธปท." หนุนใช้บัตรดันจีดีพี    นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านภาษี กรมสรรพากร เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าของการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดโดยใช้มาตรการภาษีเพื่อจูงใจ ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างการศึกษาข้อกฎหมายประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากรว่าด้วยข้อบังคับให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ซื้อขายสินค้าและบริการ จะสามารถนำข้อมูลเข้ามาอยู่ในระบบได้หรือไม่เช่นเดียวกับโมเดลของเกาหลีใต้
ทั้งนี้ โมเดลที่เกาหลีใต้ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น ทางการจะออกบัตรประจำตัวให้กับบุคคลธรรมดา เพื่อใช้รูดซื้อสินค้าและบริการกับร้านค้าที่มีสติกเกอร์ร่วมโครงการ โดยจะออกใบเสร็จรายการซื้อขายเพื่อนำมาเป็นหลักฐานใช้ขอหักลดหย่อนภาษีในปลายปี ขณะเดียวกันกรณีนิติบุคคลซึ่งเป็นร้านค้า (ซึ่งอยู่ในระบบฐานภาษี) ก็สามารถนำหลักฐานมาขอหักลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นเดียวกัน สำหรับประโยชน์ที่สรรพากรจะได้รับนั้นจะสามารถขยายฐานภาษีได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อมูลการซื้อขายทั้งหมดจะถูกส่งมาที่ศูนย์ข้อมูลกลางของกรม เพื่อตรวจสอบ
"เบื้องต้นคาดว่าจะผ่อนปรนแบบภาคสมัครใจ ผ่านวิธีการรณรงค์หรือนำสิทธิประโยชน์มาลดหย่อนภาษีให้คนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2557 ทำให้สามารถขยายฐานภาษีจนเห็นเม็ดเงินภาษีเพิ่มขึ้นได้ในปี 2558"

ขณะที่ข้อเสนอของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการให้รัฐบาลลดหย่อนภาษีการใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มที่บัตรเดบิตนั้น ส่วนตัวแล้วยังไม่ทราบเรื่อง แต่ในแง่ของความเป็นไปได้อาจต้องพิจารณาที่ความคุ้มค่าของมูลค่าธุรกรรมก่อน เช่น หากรายรับที่ 1 หมื่นล้านบาท จัดโปรโมชันลดหย่อนที่ 500 ล้านบาท ก็ถือว่าคุ้มค่า แต่กรมต้องออกประกาศกฎหมายลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ดังนั้นจึงยังไม่สามารถเริ่มต้นได้ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากต้องมีการปรับแก้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลและต้องหารือกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม
ขณะที่ แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ภาครัฐได้ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ในการปรับลดค่าธรรมเนียมการให้บริการกับร้านค้า เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลต้องการดูแลประชาชนและผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้อยู่รอดได้ โดยจะต้องไม่เอาเปรียบหรือไม่แสวงหาผลกำไรมากเกินไป ดังนั้น หากวันที่ 1 กันยายน นี้ ระบบการรับส่งข้อมูลธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ (Local Switching) ผ่านบริษัทเนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด (NITMX) เริ่มมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงอยู่แล้ว ซึ่งการคิดค่าธรรมเนียมก็ควรจะปรับลดลงด้วยเช่นกัน
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า สถิติธุรกรรมการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินและช่องทางต่างๆ ในช่วงไตรมาส 1/2556 มีปริมาณราว 524 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าราว77 ล้านบาท โดยปริมาณการใช้เช็คหดตัวลง 4.22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปริมาณการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ไม่รวมธุรกรรม BAHTNET ระหว่างสถาบันการเงิน มีอัตราการขยายตัว 25.45% ซึ่งบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เป็นบริการ e-Payments ที่ขยายตัวสูงสุด 43.26% การโอนเงินครั้งละหลายรายการ (Bulk payment) ขยายตัวต่ำสุด 5.92%
สำหรับช่องทางการชำระเงินที่มีปริมาณการทำธุรกรรมสัดส่วนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องทำรายการอัตโนมัติ 48.5% เครื่องรับบัตร 27.8% และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 17.2% ของช่องทางการชำระเงินทั้งหมด สะท้อนว่าเครื่องทำรายการอัตโนมัติได้รับความนิยมอย่างมาก ในส่วนของช่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มีสัดส่วน 4.1% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเทคโนโลยีและค่านิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการหันมาพัฒนาการให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น
**"จากผลวิเคราะห์ช่วงระหว่างปี 2008-2012 พบว่าการใช้บัตรต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.29% คิดเป็นการใช้บัตรต่อจีดีพีเฉลี่ยอยู่ที่ 0.16% โดยการเพิ่มขึ้นของการใช้บัตร 1% จะเพิ่มการใช้จ่ายภาคครัวเรือน 0.037% และเพิ่มจีดีพี 0.02% ซึ่งหากเปรียบเทียบไทยกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่าไทยสามารถเพิ่มมูลค่าให้จีดีพีได้ประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท แต่ถือว่ายังน้อยกว่ามาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีเพียงเวียดนามประเทศเดียวเท่านั้นที่การใช้บัตรมีมูลค่าเพิ่มให้จีดีพีน้อยกว่าไทย"
**ด้านนายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า กรมสรรพากรและกรมบัญชีกลาง กำลังศึกษาแนวทางการลดหย่อนภาษีแก่ผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจูงใจให้คนหันมาใช้บัตรชำระค่าสินค้าแทนการใช้จ่ายด้วยเงินสด ซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาโดยเฉพาะประเด็นการเปิดเผยข้อมูลของร้านค้าและลูกค้าที่ต้องการใช้สิทธิ์แบบเปิดกว้าง

ที่มา :  ฐานเศรษฐกิจ                       31/7/2556

__________________________________________________________

 

ข่าวสารภาษี เรื่องที่  20

แจ้งเพิ่มข้อความในใบกำกับภาษีฯ เริ่มใช้ต้นปี 2557

 

สรรพกากรพื้นที่ แจ้งว่า กรมสรรพากรได้ประกาศเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 194-197) เกี่ยวกับการเพิ่มข้อความในใบกำกับภาษี ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ รายงานภาษีซื้อและภาษีขาย ซึ่งจัดทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ประกอบด้วย ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบเพิ่ม หนี้หรือลดหนี้ และให้ระบุข้อความเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ออก และผู้รับใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ด้วยว่า เป็น” "สำนักงานใหญ่” หรือ "สาขาที่..”,

ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการไว้ในใบกำกับภาษี อีกทั้งให้วามเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ ได้ขายสินค้าหรือให้บริการและผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการว่าเป็นสำนักงาน ใหญ่หรือสำนักงานสาขา ทั้งนี้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ข้อความว่า "สำนักงานใหญ่” และข้อความว่า "สาขาที่..”จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใด ในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการลงรายการเลขประจำตัวผู้ เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และลงรายการสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการว่าเป็น ”สำนักงานใหญ่” หรือ "สาขาที่..”ในรายงานภาษีขาย ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการลงรายการเลขประจำตัวผู้ เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ และลงรายการสถานประกอบการของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนว่าเป็น ”สำนักงานใหญ่” หรือ "สาขาที่..” ในรายงานภาษีซื้อ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออกใบกำกับภาษีใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ จัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายให้ถูกต้องตามกฎหมายหากมีข้อสงสัยดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เวบไซด์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือติดต่อได้ที่ RD Call Centre โทร 1161

ที่มา  :  กรมสรรพากร                                              31/7/2556

______________________________________________________

 

Go Top

 

จดบริษัท, จดห้าง, จดเปลี่ยนแปลง
โทร. 088-227-7514, 
062-827-4446


สอบถามเรื่องบัญชี, ภาษี
โทร. 081-695-8246,
062-827-4446


มีปัญหาเรื่องบัญชีและภาษีอากร
โทร.088-227-7514,
081-695-8246



 


 






อัตราแลกเปลี่ยน

ราคาทองคำ